Kvalifiserings­programmet

Kvalifiserings­programmet (KVP) อ่านว่า...ควาลิฟิเซริงโปรแกรมเมะ เป็นข้อเสนอสำหรับการฝึกอบรมและการฝึกอบรมการทำงาน เพื่อให้ได้รับการติดตามผลที่จำเป็นในการได้งาน โดยโปรแกรมนี้ไม่ได้มีทุกเขต ต้องเข้าไปดูรายละเอียดในเว็บเขต kommune ของตัวเอง จะมีรายละเอียดอยู่ในเว็บไซต์ของแต่ละเขต จะมีทั้งในเมืองออสโลและเมืองอื่น ๆ โดยเราจะต้องเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารในเว็บของคอมมูน สำหรับออสโลสามารถเข้าไปดาวน์โหลดๆ ได้ที่นี่ https://www.oslo.kommune.no/getfile.php/13351831-1574866298/Tjenester%20og%20tilbud/Bolig%20og%20sosiale%20tjenester/Sosiale%20tjenester/Kvalifiseringsprogrammet/S%C3%B8knadsskjema%20kvalifiseringsprogram.pdf เมื่อดาวน์โหลดเอกสารมาแล้ว ให้อ่านให้เข้าใจ กรอกให้เรียบร้อยและนำไปส่งที่สำนักงานนาฟ ในเขตบ้านของตัวเอง และเช้าไปอ่านรายละเอียดการสมัครได้ที่ https://www.oslo.kommune.no/bolig-og-sosiale-tjenester/sosiale-tjenester/kvalifiseringsprogrammet/  และ https://www.nav.no/kvalifiseringsprogrammet โดยเมื่อนาฟ(NAV)ได้รับเอกสารแล้ว ทางนาฟจะทำการนัดมาเพื่อเรียกเราไปสัมภาษณ์ ว่าทำ...

'ลักษณะเฉพาะ' ของภาษาไทย : 'Characteristics' of the Thai language

ภาษาไทย

'ลักษณะเฉพาะ' ของภาษาไทย

'Characteristics' of the Thai language'

จากที่ได้เรียนภาษาต่างๆ ผ่านมาประมาณ 6 ภาษา<แต่ยังไม่เก่งสักภาษาเลย😅>

พอจะสังเกตได้ว่า... มีอยู่สิ่งหนึ่งที่มีความเด่นชัดมากในภาษาไทย ก็คือ 'การละประธานของประโยค'

คือ subject ของ sentence จะหายไป(disappeared)

(อันนี้ไม่รู้เรื่องแบบวิชาการว่าอะไรนะ ได้มาจากการสังเกตของเราเอง)

เช่น...

(คุณ)ไปไหนมา
(คุณ)ทำอะไรอยู่
(ฉัน)จะไปตลาด(คุณ)เอาอะไรไหม
(คุณ)กำลังรอใครอยู่
(ฉัน)ขอโทรศัพท์แป๊บนะ
(ฉัน)ไปเข้าห้องน้ำก่อนนะ ฯลฯ

ในประโยคคำถามจะมีการใส่คำเพิ่มไป เช่น ทำไม, ที่ไหน, เมื่อไหร่, ใคร, อะไร,  หรือยัง?

เช่น...

(คุณ)กินข้าวหรือยัง?
(คุณ)ทำงานเสร็จกี่โมง?
(คุณ)ไปตลาดซื้ออะไร?
ทำไม(คุณ)ยังทำงานไม่เสร็จ?

ภาษาไทยถ้าเทียบเรื่องไวยากรณ์ (Grammar) สำหรับเรา เราคิดว่าง่ายในการสื่อสาร เพราะไม่มีการผัน verb แต่ใส่คำระบุอดีตลงไปแทน 

เช่น...

ถามว่า...'(คุณ)กินข้าวหรือยัง' แทนที่จะตอบว่า 'กิน' ซึ่งเป็นกิริยาเฉยๆ 

ก็ตอบไปว่า... '(ฉัน)กินแล้ว'(has eaten) หรือ  ตอบว่า... 'ยัง'(not yet) หรือ 'ยังไม่ได้กิน'(not yet) ก็ได้


ซึ่งในหลายภาษานอกจากผัน verb  แล้วยังต้องผันคำอื่นๆ ในประโยควุ่นวายไปหมด

แต่สิ่งที่ภาษาไทยยาก(สำหรับเรานะ) คือการสะกดคำ และวรรณยุกต์ 

เพราะในแต่ละเสียง มีพยัญชนะหลายตัว ทำให้สับสนว่าจะใช้ตัวไหนดี

เช่น เสียง 'ด' = ด, ฎ

เสียง 'ต' = ต,  ฏ

เสียง 'ท' = ท, ฑ, ธ, ฒ

เสียง 'ถ' = ถ, ฐ

เสียง 'ส' = ส, ศ, ษ

สำหรับวรรณยุกต์ เป็นอีกสิ่งที่ยากมากๆ

เพราะมีบันไดเสียงแตกต่างกันถึง 5 เสียง คือ สามัญ, เอก, โท, ตรี และจัตวา

ซึ่งแต่ละพยัญชนะ แม้จะออกเสียงเดียวกัน ก็อาจจะสะกดไม่เหมือนกันอีก
ขึ้นอยู่กับว่าเป็น... อักษรสูง, อักษรกลาง หรืออักษรต่ำ

เดี๋ยวจะเขียนเรื่องอักษรสูง/กลางต่ำ/ของไทยเพิ่มวันหลังนะคะ

อ่านแล้วรู้สึกยังไง comment ให้ด้วยนะค้าาา...

Comments